เล่าเรื่องทดสอบภาคความสามารถ
เล่าเรื่องทดสอบภาคความสามารถ
Behind the Scene of Competency Test for Logistics National Skill Standard
เล่าเรื่องหลังฉากของแบบทดสอบภาคความสามารถของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์
นายสุรัตน์ สิงห์สุขสวัสดิ์
สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
เรื่องนี้เป็นบทขยายจากฉบับที่แล้วครับว่ามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์มีความยากความง่ายขนาดไหนกว่าจะคลอดออกมาได้ ในการออกแบบทดสอบทั้ง 4 สาขาอาชีพคือ (1) สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า (2) สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง (3) สาขาอาชีพนักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน และ (4) สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินสำหรับผู้เข้ารับการทดสอบนั้น จะต้องมีการทดสอบทั้งภาคความรู้ (ออกแรงสมองในการทำข้อสอบ) และภาคความสามารถ (ออกแรงปฏิบัติเสมือนการทำงานจริง) และทางกระทรวงแรงงานเองมีความประสงค์ที่จะให้เริ่มทำการทดสอบเฉพาะระดับ 1 และระดับ 2 ของทั้ง 4 สาขาอาชีพก่อนเนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเป็นอันดับแรก ส่วนระดับ 3 และระดับ 4 จะให้ดำเนินการในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ ผมเลยอยากจะมาเล่าเหตุการณ์เบื้องหลังการถ่ายทำให้ฟังว่าการออกแบบทดสอบความสามารถเป็นอย่างไรมาอย่างไรกัน?
หลักการออกแบบสนามทดสอบ
หลักเกณฑ์พื้นฐานในการทดสอบภาคความสามารถ คือการทดสอบต้องสอดคล้องกับหัวข้อการปฏิบัติงาน (Subtask) ที่ถูกกำหนดไว้แล้วและต้องคล้ายคลึงกับสภาพการทำงานจริงให้มากที่สุด เน้นว่าต้องไม่ใช่การจัดฉากในการทดสอบกับผู้เข้ารับการทดสอบ และสถานที่ทดสอบต้องมีพื้นที่ลงมือปฏิบัติงานและเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ต้องพอเพียงกับการทดสอบ จากหลักเกณฑ์เบื้องต้นเหล่านี้ คณะทำงานได้สเก็ตซ์ภาพสนามทดสอบจำลองขึ้นมาในกระดาษเพื่อใช้เป็นตุ๊กตานำไปลองทดสอบกับหน้างานจริง โดยกระทรวงแรงงานกำหนดให้จะต้องนำสนามทดสอบจำลองนี้ไป (ซ้อม) ทดลองสอบจริงอย่างน้อย 3 แห่งเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสนามทดสอบจำลอง (ที่คณะทำงานร่างขึ้นมา) นั้นสามารถนำไปใช้ทดสอบได้จริงในทางปฏิบัติ และนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ได้จากการทดสอบในสนามจำลองนั้นไปปรับรูปแบบของสนามทดสอบจริงให้เหมาะสมในขั้นตอนถัดไป คณะทำงานได้ตัดสินใจเลือกสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวงเป็นสนามทดสอบจำลอง ซึ่งอาณาบริเวณดังกล่าวเป็นของกรมการขนส่งทางบกที่มีบริษัทเอกชนอยู่หลายรายเช่าพื้นที่ของกรมขนส่งฯ เพื่อทำศูนย์กระจายสินค้าและขนส่งอยู่ ซึ่งประเมินภาพโดยรวมแล้วมีความพร้อมทั้งพื้นที่ปฏิบัติงานกว้างขวางและมีรถยกสินค้าพร้อมใช้งาน ที่สำคัญกว่านั้นคือมีสินค้าที่หลากหลายประเภท ในการนี้ทางคณะทำงานได้รับความอนุเคราะห์จาก 4 บริษัทที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการเป็นสนามทดสอบจำลองคือ บริษัท Greenspot จำกัด บริษัท SCG Logistics Management จำกัด และบริษัท Hadyai Pongsiri Forwarding จำกัด และอีกสนามทดสอบจำลองแห่งหนึ่งที่บริษัท Eternity Logistics จำกัด แถวลาดกะบัง
ความท้าทายและอุปสรรคขณะที่ทำการทดสอบในสนามทดสอบจำลอง
เมื่อได้สเก็ตซ์ภาพสนามทดสอบจำลองแล้ว สิ่งที่ท้าทายคณะทำงานก็คือมีหลากหลายคำถามถูกหยิบยกขึ้นมาว่า “จะต้องใช้เวลาทดสอบเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและเพียงพอสำหรับการทดสอบแต่ละสาขาอาชีพในแต่ละระดับ?” “สินค้าควรจะต้องมีลักษณะเช่นไรจึงจะสามารถอ้างอิงถึงระบบการทดสอบได้?” “การทดสอบเรื่องการควบคุมงานต้องมีการออกแบบอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่แสดงถึงศักยภาพความสามารถของผู้เข้ารับการทดสอบได้?” และประเด็นที่สำคัญยิ่งยวดคือในขณะที่ทำการทดสอบเกี่ยวกับการขับรถยกสินค้าอย่างปลอดภัย ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ กรรมการที่คุมสอบต้องเตรียมการรับมือกันอย่างไร?” แน่นอนว่าสารพัดคำถามเหล่านี้ต้องมีการเตรียมการหารือกับเจ้าของสถานที่ทดสอบเป็นการล่วงหน้าเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมความพร้อมอย่างน้อยหนึ่งวันล่วงหน้า จากนั้นต้องขออาสาสมัครที่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ซึ่งทั้งบริษัท Greenspot จำกัดและบริษัท SCG Logistics Management จำกัด พร้อมที่จะให้ทดสอบได้ทั้ง 4 สาขาอาชีพทั้งสองระดับ แต่ทางบริษัท Eternity Logistics จำกัดติดขัดปัญหาเรื่องภาระงานประจำวันที่ค่อนข้างตึงตัวของอาสาสมัครที่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบ ดังนั้น จึงสามารถทดสอบได้เพียงสาขานักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนนเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 3 สาขาอาชีพต้องไปทดสอบที่บริษัท Hadyai Pongsiri Forwarding จำกัดแทน
หลังจากเตรียมความพร้อมหนึ่งวันเป็นการล่วงหน้าแล้ว ทางผู้ประสานงานของแต่ละบริษัทได้มอบหมายให้พนักงานที่ปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมาร่วมทดลองสอบจริง การทดลองสอบทั้ง 4 สาขาอาชีพใช้เวลาเกือบทั้งวัน โดยสนามสอบแห่งแรกในแต่ละสาขาอาชีพในแต่ละระดับใช้เวลาอยู่ที่เกือบ 2 ชั่วโมง แต่ท้ายที่สุดแล้วเวลาที่ใช้ในการทดสอบของแต่ละระดับในแต่ละสาขาอาชีพอยู่ที่ระหว่าง 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง 45 นาที ซึ่งได้มีการหารือและเห็นชอบกับผู้เชี่ยวชาญแล้วน่าจะเหมาะสมและสามารถครอบคลุมถึงการแสดงความสามารถของผู้เข้ารับการทดสอบได้อย่างเพียงพอและสมเหตุสมผล
กระบวนการทดสอบของแต่ละสาขาอาชีพ
ในระดับ 1 ของทั้ง 4 สาขาอาชีพ จะต้องมีการทดสอบความสามารถด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Safety, Health and Environment) เป็นลำดับแรก ซึ่งชีวิตการทำงานจริงในอาชีพโลจิสติกส์จะเน้นเรื่องดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบของทางบริษัทหรือกฎระเบียบในคลังสินค้าหรือลานขนส่งสินค้าซึ่งล้วนแต่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยและปกป้องพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งสิ้น ดังนั้นการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานเรื่องนี้ คณะทำงานเล็งเห็นความสำคัญและให้น้ำหนักในการทดสอบพอสมควร ถ้าผู้เข้ารับการทดสอบไม่มีความเข้าใจเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริงก็เป็นเหตุให้ไม่ผ่านการทดสอบภาคความสามารถได้ทันที
สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการยกสินค้าขึ้นลงตามใบสั่งงาน การจัดเรียงสินค้า การบรรจุสินค้า การตรวจนับสินค้าและการรายงานผลการปฏิบัติงาน
สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ช่วยพนักงานปฏิบัติการคลังสินค้า การตรวจรับสินค้า การตรวจสอบเอกสาร การขนถ่ายสินค้า การจัดเก็บสินค้า การตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ในการจัดเก็บสินค้า การจ่ายสินค้า การหยิบสินค้า และการบันทึกรายการจ่ายสินค้า
สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการตรวจนับสินค้าคงคลัง การตรวจนับสินค้าเสียหายตามที่ได้รับแจ้ง การสุ่มตรวจสินค้าคงคลัง การจัดทำรายการความเคลื่อนไหวสินค้าคงคลัง และการรายงานผลการปฏิบัติงาน
สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการตรวจสอบข้อมูลสินค้าคงคลัง การตรวจสอบผลการสุ่มตรวจตรวจตามแผน การตรวจสอบความถูกต้องของรายงานเทียบกับข้อมูลทางบัญชีสินค้าคงคลัง การจัดทำรายงานการวิเคราะห์สินค้าคงคลัง และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลัง
สาขาอาชีพนักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการจัดเตรียมเอกสารการขนส่ง การจัดเตรียมเอกสารของขึ้นสินค้า การจัดเตรียมในแจ้งหนี้และใบกำกับภาษี การคัดแยกเอกสารการจัดส่งตามหมวดหมู่ การเตรียมพร้อมก่อนการขนส่ง การตรวจสอบการขนส่ง การรายงานผลการตรวจความพร้อม การประสานงานกับพนักงานขับรถ และการแจ้งซ่อมบำรุง
สาขาอาชีพนักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนนระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการวางแผนการขนส่ง การติดตามการปฏิบัติงานขนส่ง การรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การติดตามผลการขนส่ง ตรวจสอบสินค้าเสียหายระหว่างการจัดส่ง การประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง การประสานงานกับลูกค้า และการประสานงานกับผู้รับจ้างขนส่ง
สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือ การขับรถยกเคลื่อนย้ายสินค้าตามใบสั่งงาน การบันทึกผลการปฏิบัติงานและการรายงานผลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบความเสียหาย การรายงานความเสียหาย และการรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงาน การตรวจสอบความพร้อมของรถยก การขับรถยกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษ การขับรถยกสินค้าที่ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี การดูแลบำรุงรักษารถยกเบื้องต้น และการดูแลความสะอาดรถยกหลังการใช้งาน
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแค่การออกแบบสนามทดสอบภาคความสามารถในเบื้องต้นจากคณะทำงานเท่านั้น ซึ่งกระบวนการยังไม่จบลงง่ายๆเพราะว่าจะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและต้องทำประชาพิจารณ์อีกด้วย ส่วนทางกระทรวงแรงงานเองก็ยังมีคณะทำงานย่อยอีก 2-3 คณะที่จะพิจารณาความเหมาะสมในมิติต่างๆ ซึ่งกว่าจะคลอดออกมาได้ไม่ง่ายเลยจริงๆ ... แล้วผมจะมาเล่าให้ฟังต่อในโอกาสถัดไปครับ
เล่าเรื่องหลังฉากของแบบทดสอบภาคความสามารถของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์
นายสุรัตน์ สิงห์สุขสวัสดิ์
สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
เรื่องนี้เป็นบทขยายจากฉบับที่แล้วครับว่ามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์มีความยากความง่ายขนาดไหนกว่าจะคลอดออกมาได้ ในการออกแบบทดสอบทั้ง 4 สาขาอาชีพคือ (1) สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า (2) สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง (3) สาขาอาชีพนักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน และ (4) สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินสำหรับผู้เข้ารับการทดสอบนั้น จะต้องมีการทดสอบทั้งภาคความรู้ (ออกแรงสมองในการทำข้อสอบ) และภาคความสามารถ (ออกแรงปฏิบัติเสมือนการทำงานจริง) และทางกระทรวงแรงงานเองมีความประสงค์ที่จะให้เริ่มทำการทดสอบเฉพาะระดับ 1 และระดับ 2 ของทั้ง 4 สาขาอาชีพก่อนเนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเป็นอันดับแรก ส่วนระดับ 3 และระดับ 4 จะให้ดำเนินการในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ ผมเลยอยากจะมาเล่าเหตุการณ์เบื้องหลังการถ่ายทำให้ฟังว่าการออกแบบทดสอบความสามารถเป็นอย่างไรมาอย่างไรกัน?
หลักการออกแบบสนามทดสอบ
หลักเกณฑ์พื้นฐานในการทดสอบภาคความสามารถ คือการทดสอบต้องสอดคล้องกับหัวข้อการปฏิบัติงาน (Subtask) ที่ถูกกำหนดไว้แล้วและต้องคล้ายคลึงกับสภาพการทำงานจริงให้มากที่สุด เน้นว่าต้องไม่ใช่การจัดฉากในการทดสอบกับผู้เข้ารับการทดสอบ และสถานที่ทดสอบต้องมีพื้นที่ลงมือปฏิบัติงานและเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ต้องพอเพียงกับการทดสอบ จากหลักเกณฑ์เบื้องต้นเหล่านี้ คณะทำงานได้สเก็ตซ์ภาพสนามทดสอบจำลองขึ้นมาในกระดาษเพื่อใช้เป็นตุ๊กตานำไปลองทดสอบกับหน้างานจริง โดยกระทรวงแรงงานกำหนดให้จะต้องนำสนามทดสอบจำลองนี้ไป (ซ้อม) ทดลองสอบจริงอย่างน้อย 3 แห่งเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสนามทดสอบจำลอง (ที่คณะทำงานร่างขึ้นมา) นั้นสามารถนำไปใช้ทดสอบได้จริงในทางปฏิบัติ และนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ได้จากการทดสอบในสนามจำลองนั้นไปปรับรูปแบบของสนามทดสอบจริงให้เหมาะสมในขั้นตอนถัดไป คณะทำงานได้ตัดสินใจเลือกสถานีขนส่งสินค้าคลองหลวงเป็นสนามทดสอบจำลอง ซึ่งอาณาบริเวณดังกล่าวเป็นของกรมการขนส่งทางบกที่มีบริษัทเอกชนอยู่หลายรายเช่าพื้นที่ของกรมขนส่งฯ เพื่อทำศูนย์กระจายสินค้าและขนส่งอยู่ ซึ่งประเมินภาพโดยรวมแล้วมีความพร้อมทั้งพื้นที่ปฏิบัติงานกว้างขวางและมีรถยกสินค้าพร้อมใช้งาน ที่สำคัญกว่านั้นคือมีสินค้าที่หลากหลายประเภท ในการนี้ทางคณะทำงานได้รับความอนุเคราะห์จาก 4 บริษัทที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการเป็นสนามทดสอบจำลองคือ บริษัท Greenspot จำกัด บริษัท SCG Logistics Management จำกัด และบริษัท Hadyai Pongsiri Forwarding จำกัด และอีกสนามทดสอบจำลองแห่งหนึ่งที่บริษัท Eternity Logistics จำกัด แถวลาดกะบัง
ความท้าทายและอุปสรรคขณะที่ทำการทดสอบในสนามทดสอบจำลอง
เมื่อได้สเก็ตซ์ภาพสนามทดสอบจำลองแล้ว สิ่งที่ท้าทายคณะทำงานก็คือมีหลากหลายคำถามถูกหยิบยกขึ้นมาว่า “จะต้องใช้เวลาทดสอบเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและเพียงพอสำหรับการทดสอบแต่ละสาขาอาชีพในแต่ละระดับ?” “สินค้าควรจะต้องมีลักษณะเช่นไรจึงจะสามารถอ้างอิงถึงระบบการทดสอบได้?” “การทดสอบเรื่องการควบคุมงานต้องมีการออกแบบอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่แสดงถึงศักยภาพความสามารถของผู้เข้ารับการทดสอบได้?” และประเด็นที่สำคัญยิ่งยวดคือในขณะที่ทำการทดสอบเกี่ยวกับการขับรถยกสินค้าอย่างปลอดภัย ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ กรรมการที่คุมสอบต้องเตรียมการรับมือกันอย่างไร?” แน่นอนว่าสารพัดคำถามเหล่านี้ต้องมีการเตรียมการหารือกับเจ้าของสถานที่ทดสอบเป็นการล่วงหน้าเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมความพร้อมอย่างน้อยหนึ่งวันล่วงหน้า จากนั้นต้องขออาสาสมัครที่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ซึ่งทั้งบริษัท Greenspot จำกัดและบริษัท SCG Logistics Management จำกัด พร้อมที่จะให้ทดสอบได้ทั้ง 4 สาขาอาชีพทั้งสองระดับ แต่ทางบริษัท Eternity Logistics จำกัดติดขัดปัญหาเรื่องภาระงานประจำวันที่ค่อนข้างตึงตัวของอาสาสมัครที่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบ ดังนั้น จึงสามารถทดสอบได้เพียงสาขานักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนนเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 3 สาขาอาชีพต้องไปทดสอบที่บริษัท Hadyai Pongsiri Forwarding จำกัดแทน
หลังจากเตรียมความพร้อมหนึ่งวันเป็นการล่วงหน้าแล้ว ทางผู้ประสานงานของแต่ละบริษัทได้มอบหมายให้พนักงานที่ปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมาร่วมทดลองสอบจริง การทดลองสอบทั้ง 4 สาขาอาชีพใช้เวลาเกือบทั้งวัน โดยสนามสอบแห่งแรกในแต่ละสาขาอาชีพในแต่ละระดับใช้เวลาอยู่ที่เกือบ 2 ชั่วโมง แต่ท้ายที่สุดแล้วเวลาที่ใช้ในการทดสอบของแต่ละระดับในแต่ละสาขาอาชีพอยู่ที่ระหว่าง 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง 45 นาที ซึ่งได้มีการหารือและเห็นชอบกับผู้เชี่ยวชาญแล้วน่าจะเหมาะสมและสามารถครอบคลุมถึงการแสดงความสามารถของผู้เข้ารับการทดสอบได้อย่างเพียงพอและสมเหตุสมผล
กระบวนการทดสอบของแต่ละสาขาอาชีพ
ในระดับ 1 ของทั้ง 4 สาขาอาชีพ จะต้องมีการทดสอบความสามารถด้านความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Safety, Health and Environment) เป็นลำดับแรก ซึ่งชีวิตการทำงานจริงในอาชีพโลจิสติกส์จะเน้นเรื่องดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบของทางบริษัทหรือกฎระเบียบในคลังสินค้าหรือลานขนส่งสินค้าซึ่งล้วนแต่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยและปกป้องพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งสิ้น ดังนั้นการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานเรื่องนี้ คณะทำงานเล็งเห็นความสำคัญและให้น้ำหนักในการทดสอบพอสมควร ถ้าผู้เข้ารับการทดสอบไม่มีความเข้าใจเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริงก็เป็นเหตุให้ไม่ผ่านการทดสอบภาคความสามารถได้ทันที
สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการยกสินค้าขึ้นลงตามใบสั่งงาน การจัดเรียงสินค้า การบรรจุสินค้า การตรวจนับสินค้าและการรายงานผลการปฏิบัติงาน
สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ช่วยพนักงานปฏิบัติการคลังสินค้า การตรวจรับสินค้า การตรวจสอบเอกสาร การขนถ่ายสินค้า การจัดเก็บสินค้า การตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ในการจัดเก็บสินค้า การจ่ายสินค้า การหยิบสินค้า และการบันทึกรายการจ่ายสินค้า
สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการตรวจนับสินค้าคงคลัง การตรวจนับสินค้าเสียหายตามที่ได้รับแจ้ง การสุ่มตรวจสินค้าคงคลัง การจัดทำรายการความเคลื่อนไหวสินค้าคงคลัง และการรายงานผลการปฏิบัติงาน
สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการตรวจสอบข้อมูลสินค้าคงคลัง การตรวจสอบผลการสุ่มตรวจตรวจตามแผน การตรวจสอบความถูกต้องของรายงานเทียบกับข้อมูลทางบัญชีสินค้าคงคลัง การจัดทำรายงานการวิเคราะห์สินค้าคงคลัง และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลัง
สาขาอาชีพนักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการจัดเตรียมเอกสารการขนส่ง การจัดเตรียมเอกสารของขึ้นสินค้า การจัดเตรียมในแจ้งหนี้และใบกำกับภาษี การคัดแยกเอกสารการจัดส่งตามหมวดหมู่ การเตรียมพร้อมก่อนการขนส่ง การตรวจสอบการขนส่ง การรายงานผลการตรวจความพร้อม การประสานงานกับพนักงานขับรถ และการแจ้งซ่อมบำรุง
สาขาอาชีพนักบริหารงานขนส่งสินค้าทางถนนระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการวางแผนการขนส่ง การติดตามการปฏิบัติงานขนส่ง การรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การติดตามผลการขนส่ง ตรวจสอบสินค้าเสียหายระหว่างการจัดส่ง การประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง การประสานงานกับลูกค้า และการประสานงานกับผู้รับจ้างขนส่ง
สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 1 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือ การขับรถยกเคลื่อนย้ายสินค้าตามใบสั่งงาน การบันทึกผลการปฏิบัติงานและการรายงานผลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบความเสียหาย การรายงานความเสียหาย และการรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 2 ความสามารถที่ถูกกำหนดให้ทดสอบคือการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงาน การตรวจสอบความพร้อมของรถยก การขับรถยกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษ การขับรถยกสินค้าที่ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี การดูแลบำรุงรักษารถยกเบื้องต้น และการดูแลความสะอาดรถยกหลังการใช้งาน
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแค่การออกแบบสนามทดสอบภาคความสามารถในเบื้องต้นจากคณะทำงานเท่านั้น ซึ่งกระบวนการยังไม่จบลงง่ายๆเพราะว่าจะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและต้องทำประชาพิจารณ์อีกด้วย ส่วนทางกระทรวงแรงงานเองก็ยังมีคณะทำงานย่อยอีก 2-3 คณะที่จะพิจารณาความเหมาะสมในมิติต่างๆ ซึ่งกว่าจะคลอดออกมาได้ไม่ง่ายเลยจริงๆ ... แล้วผมจะมาเล่าให้ฟังต่อในโอกาสถัดไปครับ