HISTORY
HISTORY
บน(จากซ้าย) 1. Mr.Stephen Haube MIS Manager, 2.คุณณัฐพล กาญจนศุล บจก.คาลเท็กซ์ (ประเทศไทย), 3.คุณคฑา ธรรมวงศ์ Amway Thailand Ltd.,
4.คุณยงยุทธ สุขศรีอนุสรณ์ บจก.เอบีบีที แอนด์ ดี, 5. คุณศักดิ์สิทธิ์ เมสาระ, 6.คุณกฤษฎ์ ฉันทจิรพร Diethelm Co.,Ltd., 7.คุณสมชัย ใบสมุทร บจก.อุตสาหกรรมซิงเกอร์ (ประเทศไทย), 8.คุณไพรัช รัตนไพบูลย์ Son Hua Seng Group, 9. คุณกฤษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ Mobil Oil Thailand.,10.คุณกลินท์ สารสิน บจก.ปูนซิเมนต์ไทย,ล่าง(จากซ้าย) 11.คุณปัทมา ปรุงแต่งกิจ บจก.พี สแควร์ เซ็นเตอร์, 12.คุณจิรนี รัตนวิชช์ บจก.ซีบาวิชั่น (ประเทศไทย), 13.คุณปฐมพร เอมประเสริฐสุข บจก.ชีบาไกกี้, 14.คุณกิติเทพ
จินถาวร Logistics Solution Ltd., 15. Guest Speaker, 16.คุณเนาวรัตน์ (กันติชา) บุญพิไล Unilerver Thai Holding Ltd.,17.คุณชวินดา เภาหลวงทอง บมจ.ปูนซิเมนต์
วิสัยทัศน์
“TLAPS เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการวิชาชีพโลจิสติกส์ โซ่อุปทานและการผลิต ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี การบริหารจัดการความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ โซ่อุปทานและการผลิตของประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน โดยยึดหลักปรัชญาความรู้คู่คุณธรรม”
พันธกิจ
- พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอุตสาหกรรมการบริการ และการพาณิชย์ หรือการค้า ให้มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะในวิชาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับอุตสาหกรรมของประเทศและอาเซียน
- ร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชน พัฒนามาตรฐานอาชีพโลจิสติกส์ โซ่อุปทานและการผลิต เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของประเทศ
- สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมการบริหารจัดการโลจิสตกิส์โซ่อุปทานและการผลิต ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำการเผยแพร่ถ่ายทอดให้กับสมาชิก รวมทั้งเครือข่ายพันธมิตรผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
- ศึกษาวิจัยค้นคว้า นวัตกรรม เทคโนโลยี การจัดการด้านโลจิสติกส์ โซ่อุปทานและการผลิต เพื่อทำการเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
วัตถุประสงค์
- เพื่อเผยแพร่ความรู้ บริการให้คำปรึกษาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านโลจิสติกส์ การผลิต และการจัดการ โซ่อุปทาน สู่สมาชิกและบุคคลทั่วไป
- เพื่อดำเนินการ พัฒนา ควบคุม กำกับ และสอบในการยกระดับวิชาชีพมาตรฐานวิชาชีพโลจิสติกส์ การผลิต และการจัดการโซ่อุทาน โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาชีพนี้มีการศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอและสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้
- เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับสมาชิกจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างกัน สมานสามัคคี สำหรับบุคคลในวิชาชีพเดียวกัน
- เพื่อเชิดชู และดำรงไว้ซึ่งเกียรติ จรรยาบรรณ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพการจัดการโลจิสติกส์และการผลิต
- เพื่อติดต่อสร้างสัมพันธภาพกับสมาคมประเภทเดียวกัน และองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- เพื่อร่วมมือและสนับสนุนกับสถาบันต่างๆ ที่ให้การศึกษาและการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพด้าน การจัดการโลจิสติกส์และการผลิต
- เพื่อจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่างๆ แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป
- เพื่อส่งเสริมการวิจัย การศึกษาค้นคว้าด้านโลจิสติกส์ การผลิต และการจัดการโซ่อุปทาน
- เพื่อดำเนินกิจกรรมของสมาคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองใดๆ
- เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการบำเพ็ญกุศลเพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ ตามโอกาสอันสมควร
ความเป็นมา
สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลติ (Thai Logistics And Production Society) หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “TLAPS” โดยมี ดร.กฤษฎ์ ฉันทจิรพร เป็นผู้ริเริ่มรวบรวมสมาชิกที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทยกว่าสิบหกท่าน เพื่อจัดตั้งเป็นชมรมโลจิสติกส์และการผลิตขึ้นเม่อื ปีพุทธศักราช 2536 และได้รับอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลประเภทสมาคมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ทะเบียนเลขที่ 5/2543 ภายใต้ชื่อ “สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต” จัดได้ว่าเป็นสมาคมทางด้านโลจิสติกส์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้น ในประเทศไทย ด้วยในยุคสมัยนั้นยังมีคนจำนวนน้อยที่มีองค์ความรู้ ความเข้าใจถึงโลจิสติกส์ ประกอบด้วยผู้ก่อตั้งได้ตระหนักถึงความสำคัญของโลจิสติกส์และการผลิตซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนกระบวนการธุรกิจให้มีสมรรถนะต่อการตอบสนองความต้องการของกลุ่มตลาดได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุดและสร้างศักยภาพของการแข่งขันในธุรกิจของกิจการ ย่อมขึ้นกับกระบวนการจัดการระบบโลจิสติกส์ควบคู่กับความสามารถกระบวนการผลิตของบริษัท และความสำเร็จของภาคธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจของประเทศ
สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต “TLAPS” เป็นสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกำไรและเป็นศูนย์รวมของนักวิชาการและนักวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน ( Logistics and Supply Chain Management) ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่ทำงานด้านการตลาด การผลิต การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งเกี่ยวข้องกับธุรกิจเกือบทุกประเภท เช่น ค้าปลีก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย “TLAPS” ได้กำหนดตำแหน่งเป็นสมาคมแห่งวิชาชีพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่มุ่งเน้นการศึกษาพัฒนา วิจัยค้นคว้านวัตกรรมกระบวนการจัดการและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ ซัพพลายเชนและการผลิต เพื่อนำองค์ความรู้สู่การพัฒนาสร้างบุคลากรด้านโลจิสตกิส์ซัพพลายเชนและการผลิต ให้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งนี้มีจุดประสงค์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันกับอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค ระดับโลกที่อยู่สภาวะของกระแสโลกาภิวัตน์ การตลาดแข่งขันเสรีไร้พรมแดนด้านการสื่อสาร และที่สำคัญในการสร้างบุคลากรของสาขาวชิ าชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อ รองรับการเข้าร่วมของชาติสมาชิกอาเซียน (AEC) ด้วยวัตถุประสงค์หนึ่งโรงงาน หนึ่งตลาดของภูมิภาคอาเซียนที่ยังขาดบุคลากรด้านนี้อย่างมาก “TLAPS” ได้ร่วมมือกับ สมาคมวิชาชีพสหรัฐอเมริกา (American Productionand Inventory Control Society) หรือ “APICS” เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมาเผยแพร่ และนอกจากนี้แล้ว TLAPS” เองได้มีการพัฒนาสร้างหลักสูตรด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนพื้นฐาน ระดับขั้นกลางและระดับสูง และยังแยกออกเป็นรายสาขาเพื่อสร้างบุคลากรเฉพาะสาขาวชิ าชีพให้เกิดคุณภาพปฏิบัติงานได้จริง ในแต่ละระดับอาทิเช่น ผู้ปฏิบัติการ หัวหน้างาน ผู้จัดการ เป็นต้น โดยมีสาขาวิชาชีพอาทิเช่น การจัดการคลังสินค้า การจัดการการขนส่ง การวางแผนรวม การกระจายสินค้า เป็นต้น นอกจากที่ได้กล่าวข้างต้น “TLAPS” ยังได้ดำเนินการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพบุคลากรด้านโลจิสติกส์ร่วมกับสำนักพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และวิธีทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวม 14 สาขาสาขาอาชีพละ 4 ระดับ เพื่อเป็นมาตรฐานแห่งชาติในการสร้างบุคลากรให้กับอุตสาหกรรม และยกระดับมาตรฐานคุณค่าของบุคลากร เพื่อพัฒนาผู้ที่ทำงานด้านโลจิสติกส์และการผลิตในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียนมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบระบบการทำงานของหน่วยงานภายในองค์กร และที่เชื่อมโยงกันในโซ่อุปทาน (Supply Chain) สนับสนุนให้ธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยมีศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ การตลาดได้ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ก่อให้เกิดคุณภาพสินค้า การตอบสนองบริการลูกค้า ตลอดทั้งมีต้นทุนการดำเนินการของธุรกิจที่ต่ำ สมาชิกของสมาคมมาจากนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และนักวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบริหาร การปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมอุตสาหการ นักการบัญชี นักการตลาด เป็นต้น