ติดต่อเรา
History
Logistics Words
National Task List
Professional Logistics Instructor Certificate : PLIC-LO รุ่น 2
Tlaps Public Training
Seminar
In house Training
Consulting
Resource Person
Activity
Magazine
job Seeking
HOME
About TLAPS
Certification
Training & Consulting
News & Activity
Webboard
HR Logistics
Contact us
089 662 2553
info@tlaps.or.th
A President of TLAPS’ View of Logistics/2
Home
»
Magazine
»
A President of TLAPS’ View of Logistics/2
»
A President of TLAPS’ View of Logistics/2
ในฉบับที่แล้วผมได้กล่าวถึงการบริหารโลจิสติกส์ เราต้องมองแบบองค์รวมทั้งบริษัทฯ หากพิจารณาเรื่องต้นทุนก็ต้องมองต้นทุนรวม (Total Cost)ของสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านคุณภาพสินค้าและการให้บริการการมอบแบบองค์รวม คือเริ่มจากหาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อทำการจัดซื้อและทำการขนส่ง นำสินค้าหรือวัตถุดิบเข้าโรงงานเพื่อทำการผลิตแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป เก็บในคลังสินค้า จัดส่งหรือกระจายไปยัง สาขา หรือศูนย์กระจายสินค้า หรือส่งตรงไปยังลูกค้าให้ถึงมือผู้บริโภคเร็วที่สุด
การมองต้นทุนรวม (Total Cost) คือ เริ่มจากราคาสินค้าที่เราขายให้ลูกค้า เช่น ขาย100 บาท/ชิ้นเริ่มจากกิจกรรมต้นทุนสินค้า ประกอบด้วยค่าวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าแรงงาน ค่าโสหุ้ย เช่นค่าพลังงาน น้ำ ไฟฟ้า ค่าซ่อมเครื่องจักร ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร รวมเป็นต้นทุนสินค้า 70 บาท (Cost of Goods Sold) ค่าโฆษณา ค่าส่งเสริมการขาย ค่าบริหารการขาย 10 บาท ค่าใช้จ่ายของหน่วยงานสนับสนุน 5 บาท(เงินเดือนและสวัสดิการฝ่ายบุคคล ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาดฯลฯ) ค่าใช้จ่ายทางด้านโลจิสติกส์ 5 บาท กำไร 10 บาท
ในกรณีต้องปรับปรุงในหน่วยงานโลจิสติกส์ พบว่ามีค่าใช้จ่าย 5 % ต่อรายได้ ต้องแยกรายละเอียดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง 3 % ด้านคลังสินค้าและจำนวนสินค้าคงคลัง 1.5 % และค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ 0.5 % จากทั้ง 2 มุมมองในกรณีเราถูกมอบหมายให้เข้าไปทำการปรับปรุงงานด้านโลจิสติกส์ให้กับองด์กรใดองด์กรหนึ่งผมขอเสนอรูปแบบ(แผนภาพ ข.) เพื่อเป็นแนวทางหรือเกิดมุมมองในการนำไปปรับใช้ดังนี้
จาก
แผนภาพดังกล่าว เราสามารถนำมาวางทาบกับ Business Processของแต่ละองค์กรได้ โดยเริ่มจากความต้องการของลูกค้าอย่างน้อยต้องการให้เราส่งสินค้าครบจำนวนที่สั่งและส่งตรงวันที่กำหนด(In Full x On Time) และที่สำคัญที่สุดให้พิจารณา ที่ Structural ทั้งด้าน Channel Design และ Network Strategy จะพบว่าหลายๆหน่วยงานจะจำแนกช่องทางการจัดจำหน่ายหลายๆช่องทางเช่นการขายให้กับร้านยี่ปั้ว ร้านสะดวกซื้อ โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล Supermarket ปั้มน้ำมัน รวมไปถึงจัดส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าของลูกค้ากลุ่ม Modern Trade หรือลูกค้าบางรายให้ส่งตรงไปยังสโตร์ต่างจังหวัดโดยตรงทั่วประเทศ จากช่องทางการขายและกลุ่มลูกค้าจะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่นในเขตกรุงเทพฯหรือปริมณฑล หลายบริษัทฯก็จะดำเนินการจัดประเภทและขนาดรถและทีมงานขนส่งแยกออกเป็นกลุ่มๆ เช่นบริษัทฯใหญ่ๆ ที่มีบริษัทฯในเครือหลายๆบริษัท และมีรถขนส่ง และ
คลังสินค้าเป็นของตนเองทั้งหมด วันหนึ่งไปส่งลูกค้ารายเดียวกัน จะพบว่าการบรรทุกไม่เต็มคัน มีพนักงานประจำรถหลายคน ทำให้เกิดความสูญเปล่า
ขณะนี้กลุ่มบริษัทฯดังกล่าวก็จะรวมเป็นกลุ่มโลจิสติกส์กลุ่มเดียวและสนับสนุนบริษัทฯในเครือทั้งหมด หรือบางรายก็สามารถงานภายนอกจากบริษัทฯอื่นๆได้อีกด้วย
ในกรณีพบว่าช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ดังที่กล่าวมาแล้ว เราต้องไปพิจารณาด้าน Network Strategy ว่าเราจะรวบรวมจำนวนสั่งซื้อของลูกค้าแต่งราย แต่ละช่องทาง เพื่อนำมาวางแผนจัดพื้นที่กระจายสินค้า และกำหนดเส้นทางจัดส่งให้สามารถจัดส่งสินค้าได้เต็มคัน ตามขนาดรถที่กำหนด ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ เช่นส่งตรงแบบ Milk Run หรือส่งแบบ Cross Docking ในส่วนFunctional นั้นเราต้องบูรณาการทั้ง 3 ส่วนงานเข้าด้วยกันให้เกิดมูลค่าเพิ่มภายในหน่ายงาน เช่นการกำหนดนโยบายหรือเป้าหมายจำนวนสินค้าคงคลังที่จะจัดเก็บในแต่ละปีให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การกำหนดขนาดคลังสินค้าที่เหมาะสม ทั้งนี้เสนอว่า ทั้งสามหน่วยงานต้องอยู่ภายใต้ผู้บังคับบัญชาเดียวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกาบริหารงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้**********************