มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ ... แม่แรงยกระดับวิชาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสู่ความเป็นสากล
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ ... แม่แรงยกระดับวิชาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสู่ความเป็นสากล
ดร.เกียรติพงษ์ สันตะบุตร
นายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ... เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านหัวข้อจบลงแล้วท่านคงจะงงเป็นไก่ตาแตกว่าจั่วหัวเรื่องอะไรไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลยในชีวิต ผู้เขียนกำลังฝันกลางวันหรือฝันกลางคืนอยู่แน่ตอนที่เขียนต้นฉบับนี้เพื่อส่งพิมพ์ในเล่ม ผมเลยขอถือโอกาสเจาะเวลาหาอดีตย้อนเรื่องกลับไปที่ “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน” ซึ่งถูกตั้งขึ้นภายใต้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงานแห่งชาติ พศ. 2545” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 เป็นต้นมา ซึ่งในมาตรา 22 เขียนไว้ชัดเจนว่าให้คณะกรรมการฯ จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพต่างๆ เสนอรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานนำไปใช้ในการจัดให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาอาชีพนั้น ซึ่งหลายๆท่านอาจจะจินตนาการไปแค่ช่างยนต์ ช่างเชื่อม ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง หรืออาชีพทั้งหลายที่มีคำขึ้นต้นด้วยคำว่า “ช่าง .....” เท่านั้นที่สามารถจะขอรับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ แต่ในความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ เพราะว่าทุกสาขาอาชีพที่พวกเราทำมาหากินเลี้ยงชีพกันอยู่ทุกวันนี้ ทางคณะกรรมการฯก็สามารถหยิบยกนำไปจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ทั้งนั้น ผมคาดเดาว่าจะพิจารณาตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นของสาขาอาชีพนั้นๆ ตราบเท่าที่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาใดก็ตามที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน มีหน้าที่ที่จะต้องทำการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขานั้นๆ และตัวท่านเองก็สามารถที่จะไปขอรับการทดสอบตามเกณฑ์ที่กรมกำหนดขึ้นมา ถ้าท่านผ่านเกณฑ์ได้ ท่านก็จะได้รับหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแหงชาติในสาขานั้นๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่ามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของสาขาไหนก็ตามยังคงเป็นภาคสมัครใจ ไม่ใช่ภาคบังคับ ถ้าเทียบเคียงกับประกันรถ ก็เหมือนกับที่รถทุกประเภทต้องซื้อ พรบ. (ภาคบังคับตามกฎหมาย) เพื่อให้ความคุ้มครองกับบุคคลที่ 3 แต่ประกันชั้น 1 หรือชั้น 3 จะเป็นภาคสมัครใจที่เราอยากจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยผ่องถ่ายให้บริษัทประกันมาช่วยแบกรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแทนเรา
ในช่วงต้นปี 2555 ที่ผ่านมา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ว่าจ้างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและองค์กรวิชาชีพทั้งหลายให้จัดทำร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติถึง 55 สาขาอาชีพและทางสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) เองก็ได้รับการว่าจ้างให้จัดทำร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ เมื่อเดือนมีนาคม 2555 โดยได้เริ่มต้นจาก 4 สาขาอาชีพดังต่อไปนี้
ลำดับถัดมา ... อาจจะมีเครื่องหมายคำถามตัวโตๆว่า “มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์มีเอาไว้เพื่อทำอะไร?” ผมขอหยิบยกมุมมองจากภาครัฐมาให้ฟังก่อน จากท่าน ผอ. สมศักดิ์ พรหมดำ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่กล่าวไว้ในการบรรยายกรณีศึกษาการเปิดเสรีการค้า ภาคบริการ โอกาสและความอยู่รอดของแรงงานไทย เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 เมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาไว้ว่า “เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เริ่มก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะ (Skilled Workers และ Multi-Skilled Worker) มากขึ้น และจะก้าวไปสู่การผลิตบนพื้นฐานองค์ความรู้ (Knowledge -based) ต่อไปในไม่ช้า อีกทั้งไม่นานต่อจากนี้ ประเทศไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน และที่สำคัญคือแรงงาน ซึ่งนับเป็นการท้าทายและเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งรับผิดชอบต่อการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ และเตรียมรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี จึงต้องเร่งพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและต้องผลักดันให้มาตรฐานฝีมือแรงงานให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน”
เมื่อมองในมุมของตัวพนักงานเอง ก็จะเห็นคุณประโยชน์อย่างเป็นเอนกอนันต์ในการที่จะยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ให้กับตัวเอง เพราะว่าในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงอันใกล้นี้ การรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ก็จะมีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุน สินค้าและบริการ และแรงงานอย่างเสรีภายในกลุ่ม ดังนั้น การที่ตัวพนักงานเองเป็นแรงงานที่มีความรู้และทักษะฝีมือในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถทำงานในประเทศหรือเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศสมาชิกได้สะดวกยิ่งขึ้น
สุดท้าย ในมุมของผู้ประกอบการเอง ก็จะได้ยกระดับความรู้ความสามารถของพนักงานในองค์กรของท่านให้เข้าสู่มาตรฐานระดับประเทศและช่วยเพิ่มผลิตภาพในการทำงานได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งก่อให้เกิดมโนภาพที่แจ่มชัดขึ้นในการกำหนดเส้นทางอาชีพ (Career path) ให้กับพนักงานในสายอาชีพขององค์กรท่าน ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน และมีทิศทางในการพัฒนา
บุคคลากรที่ชัดเจนว่าขั้นบันไดแห่งความสำเร็จในอาชีพนั้นๆมีกี่ขั้น แต่ละขั้นจะขึ้นไปยืนให้มั่นคงได้อย่างไร แล้วจะก้าวขึ้นไปขั้นที่สูงกว่าได้อย่างไร นอกจากนี้ สำหรับองค์กรที่เปิดกว้างที่จะรับพนักงานจากประเทศในกลุ่มสมาชิก AEC เข้ามาร่วมงาน ก็สามารถที่จะใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยนี่แหละเป็นแนวทางอ้างอิงในการทดสอบความรู้ความสามารถได้อีกทางหนึ่งด้วยเพราะว่ามาตรฐานที่ถูกร่างขึ้นมานั้นนำมาจากหลักทฤษฎีและเชื่อมโยงไปสู่แนวปฏิบัติที่เราๆท่านๆทำกันอยู่
กล่าวโดยสรุปว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ ซึ่งไปว่าจะเป็นสาขาอาชีพใดก็ตามในกระบวนการโลจิสติกส์ที่กำลังจะใกล้คลอดเต็มแก่แล้ว จะเป็นการพลิกโฉมวิชาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เสมือนแม่แรงตัวใหญ่ยักษ์ที่ยกระดับทั้งตัวพนักงานและตัวองค์กรให้ก้าวไปสู่มาตรฐานระดับประเทศที่มีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก เอสเอ็มอี หรือระดับบิ๊กเนมก็ตามที อีกทั้งเราต้องร่วมกันยืดอกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าประเทศไทยของเรามีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์เป็นของตัวเราเอง ไม่ต้องรอให้ประเทศเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม AEC ยื่นเอกสารปึกหนึ่งให้มาตรงหน้าแล้วบอกว่า “นี่เอกสารทั้งหมดให้ยูเอาไปทำความเข้าใจ แล้วแปลออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อใช้งานนะ” แต่เราจะป่าวประกาศให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม AEC ฟังว่า “นี่มาตรฐานของไอ เมด อิน ไทยแลนด์ แท้ๆ ยูลองเอาไปเทียบเคียงหรือปรับใช้ดูนะ” แล้วเราจะมีความอิ่มเอมใจมากกว่าเป็นหลายเท่าตัวครับ กระซิบบอกนิดหนึ่งว่าบางองค์กรเริ่มฝึกปรือวิทยายุทธของพนักงานเพื่อเตรียมขอรับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์กันแล้ว ภาษาบู๊ลิ้มบอกว่าการลงมือก่อนครึ่งก้าวย่อมได้เปรียบกว่า ... สาม สอง หนึ่ง แอ๊คชั่น... พวกเราเตรียมพร้อมก้าวไปกับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์แล้วหรือยังครับ? ฉบับถัดไปผมจะขยายความต่อให้ฟังอีก ในระหว่างนี้ ท่านสามารถตามติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.tlaps.or.th นะครับ
นายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ... เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านหัวข้อจบลงแล้วท่านคงจะงงเป็นไก่ตาแตกว่าจั่วหัวเรื่องอะไรไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลยในชีวิต ผู้เขียนกำลังฝันกลางวันหรือฝันกลางคืนอยู่แน่ตอนที่เขียนต้นฉบับนี้เพื่อส่งพิมพ์ในเล่ม ผมเลยขอถือโอกาสเจาะเวลาหาอดีตย้อนเรื่องกลับไปที่ “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน” ซึ่งถูกตั้งขึ้นภายใต้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงานแห่งชาติ พศ. 2545” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 เป็นต้นมา ซึ่งในมาตรา 22 เขียนไว้ชัดเจนว่าให้คณะกรรมการฯ จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพต่างๆ เสนอรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานนำไปใช้ในการจัดให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาอาชีพนั้น ซึ่งหลายๆท่านอาจจะจินตนาการไปแค่ช่างยนต์ ช่างเชื่อม ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง หรืออาชีพทั้งหลายที่มีคำขึ้นต้นด้วยคำว่า “ช่าง .....” เท่านั้นที่สามารถจะขอรับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ แต่ในความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ เพราะว่าทุกสาขาอาชีพที่พวกเราทำมาหากินเลี้ยงชีพกันอยู่ทุกวันนี้ ทางคณะกรรมการฯก็สามารถหยิบยกนำไปจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ทั้งนั้น ผมคาดเดาว่าจะพิจารณาตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นของสาขาอาชีพนั้นๆ ตราบเท่าที่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาใดก็ตามที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน มีหน้าที่ที่จะต้องทำการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขานั้นๆ และตัวท่านเองก็สามารถที่จะไปขอรับการทดสอบตามเกณฑ์ที่กรมกำหนดขึ้นมา ถ้าท่านผ่านเกณฑ์ได้ ท่านก็จะได้รับหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแหงชาติในสาขานั้นๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่ามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของสาขาไหนก็ตามยังคงเป็นภาคสมัครใจ ไม่ใช่ภาคบังคับ ถ้าเทียบเคียงกับประกันรถ ก็เหมือนกับที่รถทุกประเภทต้องซื้อ พรบ. (ภาคบังคับตามกฎหมาย) เพื่อให้ความคุ้มครองกับบุคคลที่ 3 แต่ประกันชั้น 1 หรือชั้น 3 จะเป็นภาคสมัครใจที่เราอยากจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยผ่องถ่ายให้บริษัทประกันมาช่วยแบกรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแทนเรา
ในช่วงต้นปี 2555 ที่ผ่านมา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ว่าจ้างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและองค์กรวิชาชีพทั้งหลายให้จัดทำร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติถึง 55 สาขาอาชีพและทางสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) เองก็ได้รับการว่าจ้างให้จัดทำร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ เมื่อเดือนมีนาคม 2555 โดยได้เริ่มต้นจาก 4 สาขาอาชีพดังต่อไปนี้
- สาขาอาชีพผู้ปฎิบัติการคลังสินค้า
- สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง
- สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน
- สาขาอาชีพผู้บริหารงานขนส่งสินค้าทางถนน
ลำดับถัดมา ... อาจจะมีเครื่องหมายคำถามตัวโตๆว่า “มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์มีเอาไว้เพื่อทำอะไร?” ผมขอหยิบยกมุมมองจากภาครัฐมาให้ฟังก่อน จากท่าน ผอ. สมศักดิ์ พรหมดำ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่กล่าวไว้ในการบรรยายกรณีศึกษาการเปิดเสรีการค้า ภาคบริการ โอกาสและความอยู่รอดของแรงงานไทย เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 เมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาไว้ว่า “เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เริ่มก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะ (Skilled Workers และ Multi-Skilled Worker) มากขึ้น และจะก้าวไปสู่การผลิตบนพื้นฐานองค์ความรู้ (Knowledge -based) ต่อไปในไม่ช้า อีกทั้งไม่นานต่อจากนี้ ประเทศไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน และที่สำคัญคือแรงงาน ซึ่งนับเป็นการท้าทายและเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งรับผิดชอบต่อการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ และเตรียมรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี จึงต้องเร่งพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและต้องผลักดันให้มาตรฐานฝีมือแรงงานให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน”
เมื่อมองในมุมของตัวพนักงานเอง ก็จะเห็นคุณประโยชน์อย่างเป็นเอนกอนันต์ในการที่จะยื่นขอรับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ให้กับตัวเอง เพราะว่าในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงอันใกล้นี้ การรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ก็จะมีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุน สินค้าและบริการ และแรงงานอย่างเสรีภายในกลุ่ม ดังนั้น การที่ตัวพนักงานเองเป็นแรงงานที่มีความรู้และทักษะฝีมือในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถทำงานในประเทศหรือเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศสมาชิกได้สะดวกยิ่งขึ้น
สุดท้าย ในมุมของผู้ประกอบการเอง ก็จะได้ยกระดับความรู้ความสามารถของพนักงานในองค์กรของท่านให้เข้าสู่มาตรฐานระดับประเทศและช่วยเพิ่มผลิตภาพในการทำงานได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งก่อให้เกิดมโนภาพที่แจ่มชัดขึ้นในการกำหนดเส้นทางอาชีพ (Career path) ให้กับพนักงานในสายอาชีพขององค์กรท่าน ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน และมีทิศทางในการพัฒนา
บุคคลากรที่ชัดเจนว่าขั้นบันไดแห่งความสำเร็จในอาชีพนั้นๆมีกี่ขั้น แต่ละขั้นจะขึ้นไปยืนให้มั่นคงได้อย่างไร แล้วจะก้าวขึ้นไปขั้นที่สูงกว่าได้อย่างไร นอกจากนี้ สำหรับองค์กรที่เปิดกว้างที่จะรับพนักงานจากประเทศในกลุ่มสมาชิก AEC เข้ามาร่วมงาน ก็สามารถที่จะใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยนี่แหละเป็นแนวทางอ้างอิงในการทดสอบความรู้ความสามารถได้อีกทางหนึ่งด้วยเพราะว่ามาตรฐานที่ถูกร่างขึ้นมานั้นนำมาจากหลักทฤษฎีและเชื่อมโยงไปสู่แนวปฏิบัติที่เราๆท่านๆทำกันอยู่
กล่าวโดยสรุปว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์ ซึ่งไปว่าจะเป็นสาขาอาชีพใดก็ตามในกระบวนการโลจิสติกส์ที่กำลังจะใกล้คลอดเต็มแก่แล้ว จะเป็นการพลิกโฉมวิชาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เสมือนแม่แรงตัวใหญ่ยักษ์ที่ยกระดับทั้งตัวพนักงานและตัวองค์กรให้ก้าวไปสู่มาตรฐานระดับประเทศที่มีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก เอสเอ็มอี หรือระดับบิ๊กเนมก็ตามที อีกทั้งเราต้องร่วมกันยืดอกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าประเทศไทยของเรามีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์เป็นของตัวเราเอง ไม่ต้องรอให้ประเทศเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม AEC ยื่นเอกสารปึกหนึ่งให้มาตรงหน้าแล้วบอกว่า “นี่เอกสารทั้งหมดให้ยูเอาไปทำความเข้าใจ แล้วแปลออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อใช้งานนะ” แต่เราจะป่าวประกาศให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม AEC ฟังว่า “นี่มาตรฐานของไอ เมด อิน ไทยแลนด์ แท้ๆ ยูลองเอาไปเทียบเคียงหรือปรับใช้ดูนะ” แล้วเราจะมีความอิ่มเอมใจมากกว่าเป็นหลายเท่าตัวครับ กระซิบบอกนิดหนึ่งว่าบางองค์กรเริ่มฝึกปรือวิทยายุทธของพนักงานเพื่อเตรียมขอรับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์กันแล้ว ภาษาบู๊ลิ้มบอกว่าการลงมือก่อนครึ่งก้าวย่อมได้เปรียบกว่า ... สาม สอง หนึ่ง แอ๊คชั่น... พวกเราเตรียมพร้อมก้าวไปกับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์แล้วหรือยังครับ? ฉบับถัดไปผมจะขยายความต่อให้ฟังอีก ในระหว่างนี้ ท่านสามารถตามติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.tlaps.or.th นะครับ