มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ และเตรียมรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงต้องเร่งพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและผลักดันให้มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานนั้น
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (National Skill Standard : NSS) คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้การวัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
มาตรฐานฝีมือแรงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
มาตรฐานฝีมือแรงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ตามอาชีพ – National Occupational Skill Standard: NOSS และตามอุตสาหกรรม – National Industrial Skill Standard: NISS)
2. มาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ
3. มาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน
4. การทดสอบฝีมือแรงงานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติมีกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติมีกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
ประเทศชาติ
• สามารถวางแผนพัฒนาบุคลากรได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
• มีแรงงานฝีมือที่มีมาตรฐาน
• ได้รับความเชื่อมั่นจากบริษัทต่างชาติที่จะขยายการลงทุน
• มีแรงงานฝีมือที่มีมาตรฐาน
• ได้รับความเชื่อมั่นจากบริษัทต่างชาติที่จะขยายการลงทุน
ลูกค้าและผู้บริโภค
• มั่นใจว่าสินค้าและบริการที่ได้รับมีคุณภาพและความปลอดภัย
• พนักงานทราบระดับความสามารถของตนเอง
• ปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเองผ่านการฝึกอบรม
• พนักงานทราบระดับความสามารถของตนเอง
• ปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเองผ่านการฝึกอบรม
• สร้างความมั่นคงในอาชีพ
ผู้ประกอบการ
• ใช้วัดความสามารถของพนักงานเป็นรายบุคคล
• เกณฑ์เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
• พิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถ
• วางแผนการพัฒนาบุคลากรได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
• เกณฑ์เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
• พิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถ
• วางแผนการพัฒนาบุคลากรได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) ได้ดำเนินโครงการนำร่องทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงงานแห่งชาติ (โลจิสติกสฺ์) ระดับ 1 และ 2 จัดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 4 สาขาอาชีพดังนี้
1.สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง
2.สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน
3.สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า
4.สาขาอาชีพพนักงานบริหารการขนส่งทางถนน
2.สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน
3.สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า
4.สาขาอาชีพพนักงานบริหารการขนส่งทางถนน
ความแตกต่างของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 1 และ 2 คือ
ระดับ 1 เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้เบื้องต้นและความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานที่มีการระบุลักษณะงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชอย่างใกล้ชิด
ระดับ 2 เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป
ระดับ 2 เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (National Skill Standard : NSS)
1.สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหาร ควบคุม และดำเนินการให้ปริมาณของสินค้าที่ถือครองเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดของหน่วยงาน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ สามารถวางแผนและพยากรณ์ปริมาณสินค้าคงคลังในอนาคต รวมถึงการบริหารและควบคุมปริมาณของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหาร ควบคุม และดำเนินการให้ปริมาณของสินค้าที่ถือครองเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดของหน่วยงาน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ สามารถวางแผนและพยากรณ์ปริมาณสินค้าคงคลังในอนาคต รวมถึงการบริหารและควบคุมปริมาณของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ระดับ 1 หมายถึง บุคคลที่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงานตรวจนับสินค้าคงคลังในพื้นที่รับผิดชอบ สุ่มตรวจสินค้าคงคลัง สามารถปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายมีความรู้เบื้องต้นและความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบปฏิบัติงานที่มีการระบุลักษณะงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไปอย่างใกล้ชิด
ระดับ 2 หมายถึง บุคคลที่สามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าคงคลัง จัดทำรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลัง วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวสินค้าเบื้องต้น และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสินค้าคงคลังตามรอบบัญชี สามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้นมีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป
2.สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและควบคุมการขับเคลื่อนรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ในพื้นที่คลังสินค้า ปฏิบัติงานยกสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษ ตลอดจนวางแผน บริหารจัดการรถยกสินค้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน วางแผนในการซ่อม แจ้งซ่อมรถยกสินค้า เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา ตรวจสอบระบบการทำงานหรือควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยตามที่กำหนดในคู่มือมาตรฐานการทำงาน
ระดับ 1 หมายถึง บุคคลที่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงานขับรถยกเคลื่อนย้ายสินค้าได้ตามใบสั่งงาน รายงานต่อผู้บังคับบัญชากรณีรถยกเสียหายใช้งานไม่ได้หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้เบื้องต้นและความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานที่มีการระบุลักษณะงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไปอย่างใกล้ชิด
ระดับที่ 2 หมายถึง บุคคลที่สามารถเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดของหน่วยงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ปฏิบัติงานยกสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษ ดูแลบำรุงรักษารถยกเบื้องต้น สามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป
3.สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติการคลังสินค้า ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ กำลังพลในการปฏิบัติงาน และการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่คลังสินค้าโดยคำนึงถึงความปลอดภัย รวมถึงตรวจรับสินค้า จัดเก็บเบิกจ่าย จัดเรียง และบรรจุสินค้า ตลอดจนการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ระดับ 1 หมายถึง บุคคลที่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน เข้าใจถึงวิธีการยก จัดเรียงและบรรจุสินค้าตามใบสั่งงานด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด ปฏิบัติงานตรวจนับสินค้า อ่านเอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ใช้ในคลังสินค้าได้ สามารถปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้เบื้องต้นและความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานที่มีการระบุลักษณะงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไปอย่างใกล้ชิด
ระดับ 2 หมายถึง บุคคลที่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ช่วยพนักงานปฏิบัติการคลังสินค้า มีความรู้และความเข้าใจในเอกสารประกอบการตรวจรับสินค้า การจัดเก็บ และการเบิกจ่าย สามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป
4. สาขาอาชีพพนักงานบริหารการขนส่งทางถนน
ระดับ 1 หมายถึง บุคคลที่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงานจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขนส่ง พร้อมทั้งตรวจความพร้อมสภาพรถและพนักงานขับรถก่อนการขนส่ง ประสานงานกับพนักงานขับรถ สามารถปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้เบื้องต้นและความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานที่มีการระบุลักษณะงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไปอย่างใกล้ชิด
ระดับ 2 หมายถึง บุคคลที่สามารถวางแผนการขนส่งตามคำสั่งในการส่งมอบสินค้าและเงื่อนไขของลูกค้า ติดตามการปฏิบัติงานขนส่งและตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญมากขึ้น มีความรู้และความเข้าใจในงานของตนเองเป็นอย่างดี ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือที่สูงขึ้นภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป
เปรียบเทียบระหว่าง ค่าจ้างขั้นต่ำ กับ ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ยกตัวอย่าง เช่น หากท่านอาศัยอยู่ใน กทม จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 331 บาท และถ้าท่านได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 จะได้รับค่าจ้างวันละ 385 บาท
ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กลุ่มอุตสหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ปัจจุบันมี 13 ศูนย์ ซึ่งแต่ละศูนย์สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรง รายละเอียด https://bit.ly/3GroAUp
ขั้นตอนการเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน มีดังนี้
1 ยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐาน
2 ตรวจสอบคุณสมบัติ
3 แจ้งผลการตรวจสอบ
4 รับฟังคำชี้แจ้ง
5 ดำเนินการทดสอบ
- หากไม่ผ่านการทดสอบ จะต้องศึกษา/ฝึกอบรมเพิ่มเติมและดำเนินการตามข้อ 1-5 อีกครั้ง
- ผ่านการทดสอบ
6 ได้รับหนังสือรับรอง
วิธีทดสอบแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รายละเอียด https://bit.ly/3wTjKsE
เอกสาร หลักฐานการสมัคร ค่าใช้จ่าย และตัวอย่างหนังสือรับรองผู้ผ่านการทดสอบ รายละเอียด https://bit.ly/3Br533z
คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ
1. อายุ 18 ปีขึ้นไป
2. กำลังเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีสุดท้าย สาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ
3. มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
4. มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 6 เดือน และผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง สำหรับสาขาผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง 8 ชั่วโมง สำหรับสาขาผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน 32 ชั่วโมง สำหรับสาขาผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า และสาขานักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน หรือ
5. จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมีประสบการการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 4 เดือน